ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์
1.รหัสและชื่อรายวิชา
31300305 การพัฒนาหลักสูตร
(Curriculum Developmwent)
2.จำนวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต (2-2-5)
3.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ
(วิชาบังคับ)
4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
e-mail Phichittra.npu.ac.th
Mobile Phone :
0884555839
5.ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 /
2562
6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน
-
7.สถานที่เรียน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย
ดังนี้
8.1 มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร
และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
8.2 วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา
8.3 มีทักษะในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรการจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
8.4 มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8.5
มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร
9.คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมาย วิเคราะห์
อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ประเภทและองค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและต่างประเทศ
การวางแผนและการออกแบบหลักสูตรการนำหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ปัญหาแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตร
10.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
|
สอนเสริม
|
การฝึกปฎิบัติงาน
ภาคสนาม/การฝึกงาน
|
การศึกษาด้วยตนเอง
|
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
-
|
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
แนวคิดการปรับเปลี่ยนเอกสารคำสอน
รายวิชาพัฒนาหลักสูตร เป็นผลจากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนทัศน์
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษาวิชาชีพครู
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ปีการศึกษา 2560
มีการกำหนดจุดหมาย และจำนวนชั่วโมง
ดังนี้
ด้าน ความรู้ / ทักษะ Need Analysis Planning 16 Hts. /
Praxis – Generating 32 Hts. /
Understanding – Producing 16 Hts. /
รวม จำนวน 64 ชั่วโมง
ออกแบบการสอน
จำนวน 3 หน่วย
หน่วยที่
1
การวางแผน
(Plannning
Curriculum) (จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
1.
การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
2.
ทฤษฎีหลักสูตร
3.
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนา
4.
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่
2 ตอนที่ 1 การออกแบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Design)
(
จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง )
5.
ประเภทของหลักสูตร
6.
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่
2 ตอนที่ 2 การจัดระบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Organization)
(
จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง )
8.
การนำหลักสูตรไปใช้
9.
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หน่วยที่
3 การประเมินผลหลักสูตร (ผลผลิตหลักสูตร – Producing)
( จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง )
10.
การประเมินหลักสูตร
11.
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
11.แผนการจัดการเรียนรู้
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
|
ผู้สอน
|
1
|
แนะนำรายวิชา
วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การศึกษา
การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร ความหมายคุณสมบัติ
ความสำคัญองค์ประกอบ
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
|
4
|
- บรรยาย / อภิปราย / สรุป
- ประมวลการสอน
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
|
ผู้สอน
|
2
|
ทฤษฎีหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
4
|
-
นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
3-4
|
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ข้อมูลพิ้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทางด้าน
การเมืองการปกครอง
ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหา
และแนวทางแก้ปัญหาในสังคม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพทางสังคม
ในอนาคต
ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการจากสาขาต่างๆ
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียน
ชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์
และการศึกษาหลักสูตรเดิม
|
8
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
5-6
|
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ประโยชน์ของการเรียนการสอน
โดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
|
8
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
7
|
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองของทาบา
แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิวโคลส์
แบบจำลองของวีลเลอร์
แบบจำลองของนิวโคลส์
แบบจำลองของวอคเกอร์
แบบจำลองของสกิลเบค
แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
แบบจำลองของพริ้นท์
แบบจำลองของโอลิวา
|
4
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
8
|
ประเมินผลระหว่างเรียน
|
4
|
สัปดาห์ที่
1 – สัปดาห์ที่ 7
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
9-10
|
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
หลักการพัฒนาหลักสูตร
ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร
|
8
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
11
|
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรบูรณาการ
หลักสูตรกว้าง
หลักสูตรเสริมประสบการณ์
หลักสูตรรายวิชา
หลักสูตรแกน
หลักสูตรแฝง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
หลักสูตรเกลียวสว่าน
หลักสูตรสูญ
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
|
4
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
หลักสูตรเกลียวสว่าน
หลักสูตรสูญ
|
||||
12-13
|
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักการนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
|
8
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
14
|
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ความจำเป็นของการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
|
4
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
15
|
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของ
สเตค
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของ
สตัฟเฟิลบีม
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของ
ไทเลอร์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของ แฮมมอนด์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของโพรวัส
|
4
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
16
|
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
|
4
|
- นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
- Power Point / ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร. พิจิตรา
|
17
|
ประเมินผลปลายภาค
(หมายเหตุ
: เป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดให้สอนไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์)
|
-
|
ทดสอบแบบทดสอบ
|
|
รวม
|
64
|
12.แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โครงสร้าง – แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา
การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง
.....................................
เวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ NPU
Learning Paradigm
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการพัฒนาหลักสูตร
ในประเด็นต่อไปนี้
1.
การวางแผน (Planning
Curriculum)
2.
การออกแบบหลักสูตรและจัดระบบ
(Generating)
3.
ผลผลิตหลักสูตร (Producing)
เนื้อหา
สาระความรู้
ในแต่ละบทเรียน (บทที่ 1-11 )
หน่วยที่
|
เนื้อหาสาระ
|
1 การวางแผน
(Planning
Curriculum)
|
1)
การศึกษา การพัฒนามนุษย์กับหลักสูตร
|
2)
ทฤษฎีหลักสูตร
|
|
3)
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
|
|
4)
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
|
|
2 การออกแบบหลักสูตรและ
จัดระบบ(Generating)
|
5)
ประเภทของหลักสูตร
|
6)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
|
|
7)
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
|
|
8)
การนำหลักสูตรไปใช้
|
|
9)
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
|
|
3 ผลผลิตหลักสูตร (Producing)
|
10)
การประเมินหลักสูตร
|
11)
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
|
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (30-60 นาที)
1 ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์
NPU Learning Paradigm เริ่มจากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
การเรียนการสอนแบบปกติและการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ช้าให้สมาชิกในกลุ่มกำหนดบทบาทหน้าที่เป็นประธานเลขานุการและสมาชิก
ขั้นจัดการเรียนรู้ (60-120 นาที)
2 นักศึกษาจับคู่และร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อ
วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ ความต้องการที่ผู้เรียนต้องการได้รับการตอบสนองในการศึกษาเรียนรู้
ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
2.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
2.2 การกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงาน
นักศึกษาจะต้องร่วมกันกำหนดหรือระบุจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้
โดยกำหนดหรือระบุเป็นสาระความรู้ Declarative Knowledge หรือ What student will understand และกำหนดหรือระบุเป็นทักษะ
Procedural Knowledge หรือ What student will be able
to do
3.นักศึกษาจับคู่ร่วมกันปฎิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
ในประเด็นเดียวกับ
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนรู้ร่วมกัน
ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย คือ
3.1การออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์ในการเรียนรู้
ในยุคการศึกษา 4.0 เลือกผลิตภัณฑ์ในการเรียนรู้ที่เป็นสาระการเรียนรู้ จากหนังสือ
หรือเอกสาร(ใบความรู้) หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ
และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบนำตนเอง เป็นรายบุคคล
เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำและความเข้าใจ
3.2 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
โดยสืบเสาะหาหรือจัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
การเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ที่เรียนรู้ได้จาก Mobilelearning
ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อนคู่คิด
(จำนวน 2-3 คน) เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom
ขั้นความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้
3.3 การบูรณาการความรู้อาศัยความร่วมมือกัน
เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการบูรณาการความรู้(จัดลำดับตามแนวคิดของบลูม
จำ-เข้าใจ-นำไปใช้-สังเคราะห์-ประเมินค่า)และฝึกวิพากษ์ความรู้
ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย(จำนวน4-5คน)
เพื่อบรรลุจุดประสงค์ ตาม Bloom ขั้นความจำ
ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์
4. นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การเรียนรู้
ในประเด็นการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้
ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ของตนเอง ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
4.1 การตรวจสอบแบบย้อนคิดทบทวน การประเมินการเรียนรู้ของตนเองการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
4.2
การประเมินความรู้เปรียบเทียบกับมาตรฐานการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามแนวคิดSOLO
Taxonomy
ขั้นสรุป (30-60
นาที)
5. นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม (ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม)
นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
การร่วมสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา
สื่อการเรียนการสอน
1.เอกสารประกอบการนำเสนอ (Power
point Presentation)
2.เอกสารคำสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร
3. บทความวิจัยเรื่อว
การพัฒนากระบวนทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิกขั้นสูงในยุค 4.0 ของนักศึกษาวิชีพครู
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
2. ตรวจคำตอบตามประเด็นคำถาม
13.การประเมิน
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
กรอบที่ใช้อ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการกระเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้
คือหลักการประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดี : ทฤษฎีและหลักการ
ที่เป็นผลการศึกษาวิจัยของเดวิด นิโคล (David Nicol University of
Strathclyde)
ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร เป้าหมายเกณฑ์การวัดเกณฑ์มาตรฐานขอบเขตสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง
และหลังประเมินผลแค่ไหน
2. ให้ เวลาและความพยายาม กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทายขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน
อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเองผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหน
และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับปรุงด้วยตนเองอย่างไร
4.
สร้างความเชื่อเป็นแรงบันดาลใจและวินัยในตนเองขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5.
สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน นักเรียน
และครู)
มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อประเมินรายวิชาการสอน
6.
อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดเห็นทางด้านการเรียนของขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียน
7.
ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล – เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการ เลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดประเมินผล
ค่าน้ำหนักคะแนน กำหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล
(งานที่ใช้ในการประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอน
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับ
หรือการมีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจในเรื่องการประเมินผล
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
การประเมินผลจะมีหลักการกระบวนการการประเมินการเรียนรู้
ดังต่อไปนี้
1 1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นไปตามที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5. กาประเมินผลจะต้องระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นไปอย่างพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
การประเมินผล
หน่วยที่ 1 การวางแผน
(Planning)
|
การประเมินหลังเรียน
|
กิจกรรมเพื่อบรรจุดหมาย วิชาการพัฒนาหลักสูตร
|
หน่วยที่ 2 การออกแบบหลักสูตรและการจัดระบบ
(Generating)
|
การประเมินหลังเรียน
|
กิจกรรมเพื่อบรรจุดหมาย วิชาการพัฒนาหลักสูตร
|
หน่วยที่ 3 ผลผลิตหลักสูตร
(Producing)
|
การประเมินหลังเรียน
|
กิจกรรมเพื่อบรรจุดหมาย วิชาการพัฒนาหลักสูตร
|
ดังนั้น การประเมินของรายวิชา กำหนดค่าน้ำหนักคะแนน และค่าระดับ(เกรด) ดังนี้
13.1 ประเด็นการประเมินของผลรายวิชา พร้อมค่าน้ำหนักเป็น ร้อยละ
1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ร้อยละ 10
2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ ความสนใจในการเข้าเรียน ร้อยละ 10
3. การฝึกปฏิบัติพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ 10
4. การนำเสนอผลงาน ร้อยละ
20
5. การประเมินความรอบรู้
กลางภาคเรียน ร้อยละ
20
ปลายภาคเรียน ร้อยละ 30
13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน
คะแนน
(ร้อยละ)
|
เกรด
|
80-100
|
A
|
75-79
|
B+
|
70-74
|
B
|
65-69
|
C+
|
60-64
|
C
|
55-59
|
D+
|
50-54
|
D
|
ต่ำกว่า
50
|
F
|
14. เอกสารสำคัญ
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาไทยในศตวรรษที่
21. (2541). การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วิจารณ์
พานิช. (2555) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่
21 กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
Tyler, R. W. (1949) Basic Principles of Curriculum and instruction
Chicago : University of Chicago Press.
โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร หน่วยกิต 3 (2-2-5) จำนวน
3 หน่วย รวม 64 ชั่วโมง
กระบวนทัศน์
|
การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา
4.0
|
||
NPU Learning Paradigm
|
1.การวางแผน
(Planning)
4x4 = 16 ชั่วโมง
|
2.การออกแบบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
8x4 = 32 ชั่วโมง
|
3.ผลผลิตหลักสูตร (Producing)
4x4 = 16 ชั่วโมง
|
วิเคราะห์ความต้องการเรียนรู้-การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
- กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
-
กำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงาน
|
กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
เรื่อง การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
และกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงานการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
|
กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
เรื่อว
การออกแบบและจัดระบบหลักสูตรและกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงานการออกแบบและจัดระบบหลักสูตร
|
กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
เรื่อง การประเมินหลักสูตร
และกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงานคุณภาพหลักสูตร
|
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
-
การออกแบบการเรียนรู้หรือกลยุทธ์ในการเรียนรู้ในยุคการศึกษา 4.0
-
การเรียนรู้แบบนำตนเอง
-
การบูรณาการความรู้วอาศัยความร่วมมือกัน
|
การระบุความรู้
การเลือกรับ/ได้รับและการทำความเข้าใจข้อมูลใหม่เรื่องการวางแผนการพัฒนาหลักสูตร
|
การระบุความรู้
การเลือกรับ/ได้รับและการทำความเข้าใขข้อมูลใหม่เรื่องการออกแบบและจัดระบบหลักสูตร
|
การระบุความรู้
การเลือกรับ/ได้รับและการทำความเข้าใจข้อมูลใหม่เรื่องการประเมินเอกสารหลักสูตร
|
การประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้
-
การตรวจสอบแบบย้อนคิดทบทวน
-
การประเมินความรู้เปรียบเทียบกับมาตรฐาน
|
การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ในการพัฒนาการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
ด้านวิสัยทัศน์พันธกิจของหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
|
การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ในการตรวจสอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่
หลักสูตรสถานศึกษา/กลุ่มสาระวิชาเอกหรือโปรแกรมการสอนที่จัดทำขึ้น
|
การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ในการประเมินกระบวนการสร้างและพัฒนาระดับคุณภาพของหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น