ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร


ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
            การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถและสามารถนำความรู้ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาการศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวบยอมเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษาซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตรเนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตรการสร้างหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตร
            ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการพิสูจน์และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต แล้วนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไปมีความเป็นสากล(universal)สามารถพิสูจน์ทดลองได้และมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาาย และให้ความหมายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู้การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
    Smith and others (1957) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษาเพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียนนักพัฒนาหลักสูตรจึงนำทฤษฎีหลักสูตรมาใช้โดยผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกันกำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒฯาการของมนุษย์ที่สามารถปรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรรวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์
    Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆที่ยังไม่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฎการณ์หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษญชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียนโดยการชี้ให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
    ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคำอธิบายต่างๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตรและการนำผลที่ได้รับจากการประเมินผลปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly, 2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกัยเนื้อหาวิชา ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างหลักสูตรทั้งหมดปรัชญาต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความเป็นจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others, 2000) โดยสภาพความเป็นจริงแล้วทฤษฎีกับการปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆซึ่งการปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้ คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง โดยเหตุนี้จึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น