แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของพริ้นท์
ผลผลิตของหลักสูตร คือ นักเรียน โดยพื้นฐานแล้วได้มีการทำตามทิศทางตามที่ผู้ตัดสินใจได้กำหนดไว้หรือไม่ ใครคือผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร และมีความตั้งใจอะไร มีทิศทางพิเศษอะไรในใจเกี่ยวกับหลักสูตร เช่น หลักสูตรควรเน้นในเรื่องของวิชาการหรือไม่ หรือจะมุ่งที่การพัฒนาทักษะพื้นฐาน หรือมุ่งส่งเสริมมโนทัศน์ทางบวกภายในตัวของนักเรียน (positive self-concept) ต้องการการตอบคำถามเหล่านี้และคำถามอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมเป็นความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับผู้พัฒนาหลักสูตรและสิ่งที่แสดงออกมา ที่แน่ๆ คือ ในการเลือก ผู้พัฒนาหลักสูตรควรจะได้มีความเข้าใจกับองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้
คำถามอีกคำถามหนึ่งที่ต้องแก้ไขเกี่ยวข้องกับการรับรู้หลักสูตรของผู้พัฒนาหลักสูตรซึ่งมีแนวโน้มที่จะมองกระบวนการในห้าทิศทาง ทัศนะนี้มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เขียนในสาขาวิชาหลักสูตร (Eisner, Skilbeck, McNeil, Tanner and Tanner, Eisner and Vallance) ได้สรุปว่ามีมโนทัศน์ของหลักสูตรจำนวนมากที่แสดงออกมา ไอสเนอร์ และ วอลแลนซ์ เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบประมวลความความรอบรู้ ในคำถามนี้ได้แนะนำว่ามีห้าหัวข้อในการที่จะปฐมนิเทศเรื่องหลักสูตร แม้ว่าจะได้รับการโต้แย้งว่ามีเพียงสื่อจากแนคนีล แต่พริ้นท์ก็ได้เพิ่มเข้าไปเป็นห้าหัวข้อ คือ
1. มโนทัศน์เกี่ยวกับวิชาการในสาขา (academic disciplines conception)
2. มโนทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ (humanistic conception)
3. มโนทัศน์เกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม (social reconstructions conception)
4. มโนทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยี (technological conception)
5. มโนทัศน์ในการเลือก (eclectic conception)
คำถามสุดท้ายเกี่ยวข้องกับพื้นฐานหรือแรงขับ ซึ่งมีอิทธิพลต่างทิศทางความคิดเกี่ยวกับหลักสูตรของผู้พัฒนาหลักสูตร พื้นฐานของหลักสูตรเหล่านี้มาจากแหล่งทางปรัชญาทางสังคมและจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้ที่แตกต่างกันต่อบุคคลแต่ละคน และดังนั้นจึงสามารถที่จะยอมรับรูปแบบของหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น