Activity สัปดาห์ที่ 3

1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง  นิยาม ความหมาย : ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร

ตอบ นิยามความหมายทฤษฎีหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หลักสูตรที่ดีต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง  ซึ่งมีนักการศึกษาได้อธิบาย  และให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้

ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร
          นักการศึกษา ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับทัศนะ ความเชื่อ  แนวคิด ปรัชญาและประสบการณ์ ซึ่งสามารถประมวลความหมายของหลักสูตรที่สำคัญได้ ดังนี้
           จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านดังกล่าวพบว่า    มีการให้นิยามแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีเกณฑ์ที่ใช้ในการอธิบายแตกต่างกัน  ในการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า  หลักสูตร หมายถึง  แนวการจัดประสบการณ์ และ/หรือ เอกสาร ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการจัดการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้    
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร

มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า การพัฒนาหลักสูตร ไว้ดังนี้
          สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า
“ การพัฒนา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ
•  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
•  การทำให้เกิดขึ้น
          ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
          ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร
          กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
          เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย
          จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม



2. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาเอกดังกล่าว
ตอบ การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ทักษะและทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม  เพราะอนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และ   ทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการและเป็นระบบ

    ความหมายของทฤษฎี
ทฤษฎี คือข้อสมมติต่าง ๆ (Assumptions) หรือข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generalization) Herbert Feigl ได้ให้ความหมายของทฤษฎีไว้ว่า ทฤษฎีเป็นข้อสมมติต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระบวนการทางตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์”   Kneller  ได้ให้ความหมายของทฤษฎีไว้เป็น    2  ความหมายด้วยกัน  คือ หมายถึง   ข้อสมมติ ฐานต่าง ๆ (Hypothesis) ซึ่งกลั่นกรองแล้วจากการสังเกตหรือการทดลอง  หมายถึง ระบบของความคิดต่าง ๆ ที่นำปะติดปะต่อกัน (Coherent)   D.J. O’Connor ได้ให้คำจำกัดความของทฤษฎีไว้เป็น 4 ลักษณะด้วยกัน คือ   เป็นข้อสมมติฐานต่าง ๆ ที่กลั่นกรองแล้วโดยหลักของตรรกวิทยา  เป็นการนำเอาความคิดรวบยอดมารวมกันเป็นโครงสร้าง   เป็นสาระที่เกี่ยวกับปัญหา   เป็นการกำหนดเงื่อนไขหรือกฎต่าง ๆ   เพื่อควบคุมพฤติกรรมบางอย่าง
ทฤษฎีการศึกษา   คือ   การผสมผสานทฤษฎีการศึกษาต่างๆ (Eclecticism) การประยุกต์เอาหลักการและทฤษฎีทางการศึกษาไปใช้เป็นหลักในการจัดการศึกษานั้นกระทำกันหลายวิธี โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีผสมผสานโดยเลือกสรรหลักการที่ดีของหลายทฤษฎีที่พอจะประมวลเข้าด้วยกันได้โดย ไม่ขัดแย้งกัน มาใช้เป็นแนวการจัดการศึกษา ปรัชญาทางการศึกษา  เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
กล่าวได้ว่า ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน      และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้ เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
  -  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
  -  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            - ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
            - เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
            - เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น